7M
1. Method: Develop a trading strategy
2. Market: Realize market analysis and market classification
3. Money: Money management
4. Measure: Backtest
5. Monitor: What/how and when to monitor / present
6. Mindset: Quants mindset
7. Machine: Proper technology
1. Method
ต้องระบุให้ได้ว่า
Signal
- Buy condition มีอะไร, ระบุ VIP: Volume, Indicator และ Price ให้ชัดเจน
- Sell condition มีอะไร, OXOC(One Exactly Opposite Condition) เทียบกับ Buy condition
การระบุ Sell condition ไม่ใช่การระบุ Stoploss
Position
- Position score ถ้าเข้า buy condition ทั้งหมดแล้วจะให้ซื้อตัวไหนก่อนที่มีโอกาสทำเงินได้มากที่สุด
- Position size
Simulation
- เพือป้องการการ Curve-fitting
- มองหา Slippages และ Missing trade
2. Market
Market Filter (MKF)
- ตั้งให้ Simple, easy and fast มีแค่ True or False
Market Classification (MKC)
- นิยามและแบ่งระดับของตลาดเป็นแต่ละขั้นในตลาด
- อาจจะแบ่งเป็น Down trend, Sideway และ Up trend
- หรือจะใช้ Down trend, Sideway และ Up trend มาคิดกับ Low/High Volatility เพื่อให้รู้ว่าตลาดแบบไหนที่ favour กับกลยุทธของเรา
Market Breadth
- ในวิธีคิดของ MKF และ MKC จะให้น้ำหนักกับหุ้นแต่ละตัวไม่เท่ากันตาม market cap
- แต่วิธีของ market breadth จะให้ความสำคัญแต่ละตัวเท่าๆกัน Voting count ไม่ว่า large หรือ small cap
- ยกตัวอย่างเช่น มีหุ้นอยู่กี่ตัวที่ทำ Higher high หักลบกับจำนวนหุ้นที่ทำ Lower low
หรือ มีหุ้นกี่ตัวที่อยู่เหนือ MACD บวก เกิน 15 วัน
หรือ มีจำนวนหุ้นกี่ตัวที่มี RSI week เกิน 66.67
- แต่ข้อมูลพวกนี้ต้องเอามาหาค่าเฉลี่ยหรือ smooth มันอีกที
- เราอาจจะเห็นว่า SET index อาจจะยังไม่ปรับตัวลง เพราะมีตัวใหญ่ค้ำอยู่ แต่พวกหุ้น Leader ได้ทยอยโดน stoploss ออกไปแล้ว ซึ่งก็เป็นสัญญาณที่ไม่ดี
3. Money Management
เวลาเรามอง Portfolio เราสามารถแบ่งได้เป็นดังนี้
- Risk เป็นความเสี่ยงของ Stoploss + slippage ที่เราเสี่ยงอยู่ ตลาดอาจจะขึ้นไปและมีความเสี่ยงมากขึ้น อาจจะทำให้ Portfolio overheat ได้
Dr.Elder: 2% & 6% Rules
- Maximum Risk per position "2% Position Risk" ของ Equity
พอร์ต = 1,000,000 บาท. 2% risk per position
มี stoploss = 10%
ราคาหุ้นละ 30 บาท
* 2% = 1,000,000 บาท X 2% = 20,000 บาท/position
* Risk per share = 30 บาท X 10% = 3 บาท/หุ้น
* 20,000 บาท / 3 บาท ที่ขาดทุนได้แต่ต่อหุ้น = 6,666 หุ้น
* Position value = 6,600 หุ้น X 30 บาท = 198,000 บาท
* Final Risk / position = 6,600 X 3 บาท = 19,800 บาท = 1.98% of total equity
- 6% Risk + Losses per month: หมายความว่า maximum risk และ loss per month จะต้องไม่เกิน 6% ในแต่ละ current month เช่น ถ้าในเดือนนั้นๆ มี Risk(stoploss) = 3% และดันขาดทุน = 3% มีกฎว่าห้ามเติม new position
Risks in portfolio " Portfolio Heat"
- คือ Sum of risk from all open positin
- ส่วนมากแล้วจะอยูระหว่าง 15-25% ของ Total equity
- เมื่อเกิด Portfolio heat แล้วเราต้อง ไม่เพิ่ม open position
Dr. Van K Tharp's Equity Models
- แบ่งเป็น Total Equity, Secure Equity (Total equity - Risk) และ Cash Equity
ตัวอย่างของ Cash Equity
หุ้น XYZ ราคา 20 บาท, stoploss = 10%
2% risk per position, Equity = 1,000,000 บาท
มี Holding position ABC อยู่แล้ว 6,666 หุ้น ที่ราคา 30 บาท = 198,000 บาท
cash equity = 1,000,000 - 198,000 = 802,000 บาท
2% X 802,000 บาท = 16,040 บาท/position
Risk per share = 20 บาท X 10% stoploss = 2 บาท/share
Share = 16,040 / 2 บาท = 8,020 หุ้น/position
Position value = 8,020 หุ้น X 20 บาท = 160,400 บาท
Final Risk/position = 8,020 หุ้น X 2 บาท = 16,040 บาท หรือ 1.60% ของ Total Equity
ตัวอย่างของ Secured Equity
อยากซื้อหุ้น XYZ ที่ราคา 20 บาท, stoploss = 10%
2% Risk, 1,000,000 บาท equity
มีหุ้น ABC อยู่แล้ว 6,600 หุ้นที่ราคา 30 บาท และมี Risk = 3 บาท/หุ้น
Secure equity = Total Equity - Position Risk = 1,000,000 - (6,600 X 3 บาท) = 980,200 บาท
2% risk/position = 980,200 X 2% = 19,604 บาท/position
Risk per share = 20 บาท X 10% stoploss = 2 บาท/หุ้น
19,604 / 2 บาท = 9,802 หุ้น / position
Position value = 9,800 หุ้น X 20 บาท = 196,000 บาท
Final risk/position = 9,800 ห้น X 2 บาท = 19,600 บาท/position หรือ 1.96% of Total Equity